Insomnia ภาวะนอนไม่หลับที่อันตราย

Insomnia ภาวะนอนไม่หลับที่อันตรายมากกว่าเกินคาด!

อาการนอนไม่หลับของใครบางคน อาจไม่ได้มีเพียงแค่ไม่กี่วัน แต่กลับยาวนานเป็นสัปดาห์หรืออาจยาวเป็นหลายเดือน ซึ่งนั่นคือสัญญาณเตือนอันตรายของทั้งสมองและร่างกาย ที่เริ่มมีปัญหาอย่างหนักหน่วง จนกลายเป็นภาวะ Insomnia หรือโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง ซึ่งนอกเหนือจากการส่งผลต่อปัญหาสุขภาพ    โดยรวมแล้ว ยังส่งผลต่อการทางจิตประสาทที่อาจจะรุนแรงมากขึ้นอีกด้วย แต่การเกิดภาวะนี้จะถูกแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท คุณจึงควรรู้ถึงปัจจัยและ    รายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะ Insomnia เพื่อการป้องกันและการแก้ไขอย่างถูกวิธีที่สุด

ภาวะ Insomnia คืออะไร? เรื่องที่คนนอนไม่หลับบ่อยครั้ง ควรรู้!

อาการนอนไม่หลับของคนทั่วไป จะเกิดขึ้นภายใน 1-3 วัน และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง และมีการปรับสู่การนอนตามปกติ แต่ถ้าเมื่อใดที่การนอนหลับเป็นไปได้ยาก และให้ความต่อเนื่องตั้งแต่ 1 สัปดาห์ขึ้นไป นั่นหมายความว่าคุณกำลังเผชิญกับโรค Insomnia เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้ารู้ตัวเร็วจะยังสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่าย แต่ถ้าเมื่อใดที่ปล่อยให้เรื้อรัง จะส่งผลต่อสภาพร่างกายและปัญหาระบบประสาทที่มากพอสมควร โดย Insomnia หรือโรคนอนไม่หลับ จะถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้

1.ภาวะนอนหลับยาก

ภาวะการนอนหลับยากผิดปกติ และกลายมาเป็นอาการนอนไม่หลับยาวนานมากขึ้น จะเรียกว่า Initial insomnia โดยจะมีความเชื่อมโยงกับภาวะความวิตกกังวลที่สูงเกินคนทั่วไป เมื่อใดที่มีเรื่องให้ต้องเครียดและวิตกกังวลมาก จะทำให้อาการนี้กำเริบและกลายเป็นการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง

2.ภาวะนอนหลับได้ระยะสั้นๆ

ผู้ที่มีปัญหาภาวะการหลับในระยะสั้น ๆ หรือ Maintenance Insomnia จะมีอาการทางกายภาพร่วมด้วย เช่น การหยุดหายใจในขณะนอนหลับ เพราะเกิดการปิดกั้นของหลอดลม หรือเกิดการสำลักในขณะการนอนหลับ เป็นต้น ซึ่งภาวะนี้จะเกิดจากอาการป่วยในด้านอื่น ๆ เมื่อไหร่ที่อาการเหล่านี้ดีขึ้น อาการนอนไม่หลับจะค่อย ๆ ผ่อนคลายลงเช่นกัน สล็อต

3.ภาวะตื่นเร็วผิดปกติ

อาการของผู้ที่มักจะตื่นเร็วผิดปกติ ตื่นเร็วก่อนเวลาที่เคยเป็น จะเรียกว่าภาวะ Terminal Insomnia ซึ่งจะถูกพบได้มากจากผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า เพราะสารเคมีในสมองที่มีความไม่สมดุลกัน จึงทำให้การนอนหลับได้รับการรบกวนไปด้วย

ผลกระทบของภาวะ Insomnia ที่ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจโดยรวม

การนอนไม่หลับ หรือภาวะ Insomnia ส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจโดยรวมที่มากพอสมควร ซึ่งถ้าปล่อยเรื้อรังหนัก ยิ่งอาจพาให้โรคนี้มีอาการรุนแรงมากขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากภาวะ Insomnia คือ

  • มีอาการความจำสั้น การจดจำมีน้อยลง และอาจจะกลายเป็นภาวะความจำเปลี่ยนแปลงเอง 
  • การมีสมาธิหรือจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะทำได้ยากขึ้น หรือทำไม่ได้เลย 
  • มีอาการอ่อนเพลียรุนแรง จนแทบทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่ดีพอ
  • เกิดอารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย และมีอาการกระสับกระส่ายผิดปกติ 
  • มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  • เกิดอาการหลอน ที่อาจสร้างภาพหรือได้ยินเสียงแว่วด้วยตัวเอง 
  • มีอาการวิตกกังวลซ้ำซ้อน โดยเฉพาะในเรื่องการนอนของตัวเอง

วิธีป้องกันการเกิดภาวะ Insomnia ช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ ที่อาจพาสุขภาพเสียหาย

สำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการคล้ายกับโรคนอนไม่หลับ หรือภาวะ Insomnia ถ้าต้องการจะช่วยลดปัญหา คุณควรเริ่มลดความตึงเครียดและใช้วิธีการป้องกัน ดังต่อไปนี้

  • ถ้ามีน้ำหนักสูง ควรตั้งใจในการลดน้ำหนัก เพื่อป้องกันปัญหาทางกายภาพ ที่ส่งผลต่อการนอนไม่หลับ 
  • ถ้ามีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาทันที 
  • ถ้ามีภาวะซึมเศร้า หรือภาวะความวิตกกังวลสูงกว่าคนทั่วไป ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะด้าน 
  • สร้างบรรยากาศในการนอน ให้คุณสามารถหลับได้สนิท เช่น การใช้ที่ปิดหู เพื่อไม่ให้ได้ยินเสียง และใส่ที่ปิดตาเพื่อลดแสงให้น้อยที่สุด 
  • ปรับการใช้ชีวิตให้นอนอย่างตรงเวลา โดยเฉพาะการพักผ่อนก่อนช่วงเวลา 22.00 น.เพื่อให้ร่างกายได้พักอย่างเต็มที่ 
  • ปรับอารมณ์และร่างกาย ให้เกิดความสมดุลกัน ลดความตึงเครียด เมื่อกลับถึงบ้านแล้ว ไม่ควรทำงานต่อเด็ดขาด แต่ควรพักผ่อนให้ได้มากที่สุด

แม้ว่าภาวะ Insomnia จะดูเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าปล่อยให้เกิดการเรื้อรังและยาวนานเกินไป อาจกลายเป็นอันตรายที่ถึงแก่ชีวิตได้ง่าย จึงไม่ควรมองข้าม เมื่อใดที่รู้สึกนอนไม่หลับ ต้องหาสาเหตุให้เจอแล้วปรับตัวใหม่ เพื่อให้การนอนหลับเป็นไปอย่างเหมาะสม แต่ถ้าอาการหนักขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

Tagที่เกี่ยวข้อง

Insomnia , Maintenance Insomnia , Terminal Insomnia , Initial insomnia