ผู้สูงวัยตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพื่อสุขภาพที่ดี ชีวิตยืนยาวมากขึ้น
ผู้สูงอายุตั้งแต่วัย 60 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีปัญหาเรื่องความเสื่อมสภาพของร่างกาย และการเป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ลูกหลาน ควรจะต้องให้ความสนใจมากที่สุด คือ วิธีการดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจของผู้สูงวัย เพื่อทำให้อายุยืนยาวมากขึ้น ปราศจากโรคภัยที่จะเข้ามาทำร้าย หรือช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพรุนแรง ทำให้สุขภาพดีสมวัย และไม่ต้องรู้สึกทรมานไปกับโรคร้าย หรือปัญหาสุขภาพใด ๆ อีกด้วย
เรียนรู้ 5 วิธีดูแลผู้สูงวัยตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยาวนาน
สำหรับผู้ที่มีผู้สูงวัยตั้งแต่ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปภายในครอบครัว คุณควรเรียนรู้ถึง 5 วิธีการดูแล เพื่อทำให้สุขภาพของผู้สูงวัยในบ้าน ยังคงเป็นสุขภาพที่ดีไปอย่างยืนยาว โดยมีวิธีการดูแลดังต่อไปนี้
1.ดูแลเรื่องอาหาร
อาหารมีความสำคัญต่อร่างกายของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะในวัย 60 ปีขึ้นไป หลายคนอาจมีปัญหาเรื่องการเบื่ออาหาร หรือไม่อยากอาหาร ดังนั้นผู้ดูแลจะต้องคัดเลือกอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เพียงพอต่อการใช้งานภายในร่างกายแต่ละวัน หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน แป้ง และน้ำตาล แต่ให้เน้นเรื่องโปรตีนจากเนื้อสัตว์ และการเพิ่มวิตามินกับแร่ธาตุ เน้นเป็นเนื้อปลาจะดีที่สุด และอาหารที่มีรสชาติจัดจ้าน ทั้งหวาน เค็ม เผ็ด และมัน ควรหลีกเลี่ยง เพื่อทำให้ร่างกายได้รับแต่อาหารที่มีคุณภาพ พร้อมนำไปใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ
2.การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในวัยนี้ ถือว่ายังคงเป็นเรื่องสำคัญ แต่จะต้องใช้ท่าทางการออกกำลังกายที่เบาลง และทำอย่างต่อเนื่อง 30 นาที โดยออกกำลังกายเพียงสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยกระตุ้นให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการปวดเมื่อยหรืออาการข้อเข่าเสื่อม ทำให้การทรงตัว การเคลื่อนไหว และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างคล่องตัว
3.การดูแลเรื่องความสะอาด
ความสะอาดเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ ที่ผู้ดูแลจะต้องจัดการให้ดีที่สุด เพราะในช่วงสูงวัยจะสามารถติดเชื้อได้ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ การทำให้สุขอนามัยของทั้งผู้ที่ยังสามารถดูแลตัวเองได้ และผู้สูงวัยแบบป่วยติดเตียง ให้มีความสะอาดมากที่สุด จะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีขึ้น โดยจะต้องหมั่นดูแลทั้งการทำความสะอาดร่างกาย บริเวณช่องปาก และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงบริเวณการขับถ่าย ที่จะต้องทำความสะอาดให้ดีทั้งหมด พร้อมการตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อทำให้รู้ทันโรค! สล็อต
4.การดูแลเรื่องจิตใจ
สภาพจิตใจของผู้สูงอายุ มีความสำคัญไม่แพ้กับปัญหาสุขภาพในด้านอื่น ๆ เพราะด้วยวัยที่สูงขึ้น จึงทำให้ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพลง งานที่เคยทำได้จะทำได้ไม่ดีเท่าเดิม จึงอาจพาให้เกิดความเครียด และความวิตกกังวลได้สูงกว่าคนในทุกช่วงวัย ผู้ดูแลจึงควรต้องส่งเสริมกิจกรรมที่ทำให้ลดความตึงเครียด และเสริมสร้างความบันเทิง รวมไปถึงการได้พบปะพูดคุยกับคนในวัยเดียวกัน และการได้อยู่แบบพร้อมหน้าของคนในครอบครัวบ่อยครั้ง จะช่วยทำให้สภาพจิตใจของผู้สูงวัยดีขึ้น นอกจากนี้ควรหากิจกรรมที่สามารถทำได้ทุกวัน เพื่อการเสริมทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย ความคิด และอารมณ์ ที่สอดคล้องกันได้อย่างดีเยี่ยม
5.การป้องกันเรื่องอุบัติเหตุ
เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวได้ไม่ดีเท่าเดิม ย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การนั่ง การทรงตัว การเดินขึ้นบันได เรียกได้ว่าทุกส่วนจะต้องระมัดระวังให้ดี ผู้ดูแลจึงต้องจัดทำพื้นที่เฉพาะให้กับผู้สูงอายุ ที่จะไม่เสี่ยงต่อพื้นที่มีความลื่น การเดินขึ้นบันไดแบบไม่มีราวจับ หรือการมีจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ เพราะเมื่อใดที่เกิดอุบัติเหตุ แล้วกลายเป็นการได้รับบาดเจ็บ ย่อมพาให้เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังไปอีกยาวนาน
ทุกช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ภายในครอบครัว เพียงแค่ดูแลซึ่งกันและกัน ดังนั้นถ้าคุณต้องการให้คุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ที่เคารพภายในบ้าน มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีสุขภาพจิตใจที่ดี แนะนำการใช้ทั้ง 5 วิธีนี้ เพื่อดูแลและเฝ้าระวังให้ชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ได้อย่างยืนยาว และมีความสุขมากที่สุดในช่วงบั้นปลายชีวิต
Tagที่เกี่ยวข้อง
ดูแลเรื่องอาหาร , การออกกำลังกาย , การดูแลเรื่องความสะอาด , การดูแลเรื่องจิตใจ ,การป้องกันเรื่องอุบัติเหตุ