รู้ทันโรคหัวใจความเสี่ยงจะน้อยลง

รู้ทันโรคหัวใจ ความเสี่ยงจะน้อยลง เพียงรักษาสุขภาพให้ถูกต้อง

หนึ่งในโรคอันตรายและเป็นโรคเรื้อรัง ที่คนไทยเสียชีวิตสูงมากทุกปี คือ โรคหัวใจซึ่งปัจจุบันยอมรับว่าโรคนี้ ยังคงอันตรายไม่น้อย และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต จากผู้คนทั่วโลกเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งยังเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้คนในทุกช่วงอายุ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอายุมากหรือน้อย จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ทั้งหมด

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ คืออะไร

สำหรับโรคหัวใจแล้ว สามารถเกิดจากปัจจัยเสี่ยงได้หลากหลาย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุน้อย จะสามารถเกิดโรคนี้ได้ทั้งหมด ถ้าเป็นในวัยทารกหรือวัยเด็ก มักจะเกิดจากการเป็นโดยกำเนิด ซึ่งถือเป็นความผิดปกติตั้งแต่อยู่ภายในครรภ์มารดา แต่ถ้าเป็นคนในวัยทำงานช่วงอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป จะมาจากพฤติกรรมของการทำงานหนัก การใช้ชีวิตประจำวันที่ผิดปกติ มีการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ไม่มีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม 

แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงตามปกติ จะสามารถเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจได้ ดังนั้นแม้คุณจะเป็นนักกีฬาก็มีสิทธิ์เสี่ยงที่จะป่วยด้วยอาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา หรือโรคหัวใจขาดเลือดได้ โดยปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ที่คุณไม่ควรมองข้าม คือ 

  • การเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคอ้วน รวมไปถึงโรคที่ทำให้เกิดเป็นภาวะเรื้อรังต่าง ๆ จะสามารถเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ทั้งหมด 
  • ผู้ที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง การพักผ่อนน้อย และมีความเครียดกับความวิตกกังวลอยู่เสมอ 
  • การนั่งทำงานตลอดทั้งวัน ไม่มีการเคลื่อนไหวตัว และรับประทานอาหารที่มีไขมันกับน้ำตาลสูง 
  • การไม่ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หรือการออกกำลังกายที่หนักมากเกินกว่าร่างกายจะรับไหว ก็สามารถเกิดโรคหัวใจได้เช่นกัน 
  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน จะเป็นโรคหัวใจได้ง่ายกว่าเพศชาย 
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ที่ทำให้ผู้หญิงป่วยเป็นโรคหัวใจได้ง่ายขึ้น 
  • การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด ไม่ใช่แค่เพียงการเสี่ยงโรคไตเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้

รู้ทันอาการของโรค เพื่อการพบแพทย์อย่างทันท่วงที

ถ้าคุณไม่อยากเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และอาจพาให้เข้าสู่ภาวะฉุกเฉิน หรือความเสี่ยงต่อการเป็นหัวใจวายเฉียบพลัน ขอแนะนำเรียนรู้อาการของโรค ที่เมื่อพบตั้งแต่เบื้องต้น จะสามารถพบแพทย์และรักษาได้ทันเวลา ดังนี้ 

  • มีอาการแน่นที่บริเวณหน้าอก เจ็บส่วนอกแบบบีบเค้น มีลักษณะคล้ายกับมีของหนักวางกดทับ อยู่ที่บริเวณหน้าอก 
  • มีอาการปวดและเจ็บร้าว ไปจนถึงช่วงบริเวณคอ ไหล่ กราม ขากรรไกร แขน และหลัง 
  • มีอาการเหงื่อออกจำนวนมาก ใจสั่น อุณหภูมิตัวลดลง จนกลายเป็นตัวเย็นผิดปกติ และมีอาการเจ็บหรือปวดหน้าอกร่วมด้วย 
  • มีอาการเจ็บหน้าอก ยาวนานกว่า 20 นาทีเป็นต้นไป 
  • การใช้ชีวิตตามปกติรู้สึกเหนื่อยง่าย แม้แต่การเดินหรือการนั่งพัก ยังคงรู้สึกเหนื่อยอยู่ตลอด 
  • เมื่อพยายามออกกำลังกาย จะรู้สึกหายใจไม่ทันใจ เต้นเร็วผิดปกติ มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จนเกิดอาการเป็นลมหมดสติระหว่างวัน

ดูแลตัวเองอย่างไร ให้ความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจน้อยลง

การดูแลและป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาโรคหัวใจ สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ 

  • ดูแลเรื่องอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดไขมัน แป้ง และน้ำตาล หรือควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น 
  • การรับประทานไขมัน เพื่อให้กลายเป็นพลังงานของร่างกาย ไม่ควรเกินที่ร้อยละ 30 หรือมีการปรุงอาหารด้วยน้ำมันเพียง 3-4 ช้อนโต๊ะต่ออาหาร 1 มื้อหรือ 1 วันเท่านั้น  สล็อตออนไลน์
  • ความดันโลหิตควรเป็นไปตามปกติ ดังนั้นจึงควรลดความตึงเครียด และลดน้ำตาลที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น 
  • รักษาน้ำหนักให้เหมาะสมต่อส่วนสูง ไม่เกินเกณฑ์ เพื่อป้องกันภาวะโรคอ้วน 
  • มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ และออกด้วยท่าทางเหมาะสมกับน้ำหนักตัว ควรออกอยู่ที่ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ 
  • หลีกเลี่ยงหรืองดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับการสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด

ถ้าคุณรู้ทันโรคหัวใจ ความเสี่ยงจะลดน้อยลง โดยเฉพาะคนในวัยทำงานที่ต้องเผชิญกับความเครียดสะสมสูง การเร่งรีบในการใช้ชีวิต จึงทำให้การเลือกอาหารเพื่อสุขภาพเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าคุณยอมสละเวลาเพียงเล็กน้อย เพื่อจะรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และใช้ชีวิตที่มีคุณภาพมากขึ้น รับรองว่าโรคหัวใจจะไม่เข้ามาทำลายสุขภาพและชีวิตของคุณแน่นอน

Tagที่เกี่ยวข้อง

โรคหัวใจ , โรคอันตราย