ขากระตุกขณะหลับ

ขากระตุกขณะหลับ หนึ่งในอาการเตือนด้านสุขภาพ ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

หนึ่งในอาการที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งขณะหลับ จนกลายเป็นการรบกวนการนอนไปโดยปริยาย และทำให้คุณภาพการนอนลดต่ำลง คือ ภาวะขากระตุกขณะหลับ สำหรับผู้ที่มีปัญหาการกระตุกเพียง 1 ครั้งต่อคืน ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากนัก แต่ผู้ที่กระตุกหลายครั้งต่อคืน จะยิ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้อาจเกิดตะคริวที่ขา ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดได้มากขึ้น ทั้งยังทำให้เกิดความง่วงและอาการเหนื่อยล้าในช่วงเวลากลางวัน เพราะกลางคืนไม่สามารถหลับได้อย่างเต็มอิ่ม

ปัจจัยการเกิดขาระตุกขณะหลับ คืออะไร? 

ภาวะขากระตุกในขณะนอนหลับ ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนทางการแพทย์ได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางกายภาพ หรือโรคต่าง ๆ ที่ผู้เกิดปัญหาเป็นอยู่ เช่น การเป็นโรคไต, การเป็นโรคโลหิตจางแบบขาดธาตุเหล็กรุนแรง, การขาดสารอาหารบางชนิด, การเป็นโรคกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ หรืออาจจะเป็นการถูกอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ ซึ่งการวินิจฉัยจำเป็นจะต้องพบแพทย์โดยตรง และจะต้องมีการตรวจสอบจากการนอนเป็นหลัก เพื่อดูว่าสาเหตุของโรคมาจากจุดใดกันแน่ 

ซึ่งภาวะขากระตุกในช่วงนอนหลับ จะมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ PLMD หรือ Periodic Limb Movement Disorder โดยจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงกลางคืนและช่วงนอนหลับ มีอาการกล้ามเนื้อที่บริเวณขากระตุกซ้ำ ๆ โดยวัยที่มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด คือ ช่วงอายุ 50 ปีเป็นต้นไป ทุกครั้งที่กระตุกจะเกิดขึ้นในช่วง 20-40 นาทีเลยทีเดียว แต่ในขณะเดียวกันผู้ที่อยู่ในช่วงวัย 30-40 ปีขึ้นไป สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน 

ส่วนการกระตุกจะสามารถเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่นิ้วมือ สล็อต นิ้วเท้า โดยเฉพาะบริเวณหัวแม่เท้า ที่จะเคลื่อนไหวเอง บริเวณหัวเข่า ข้อเท้า และสะโพก เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเริ่มต้นจากระดับเบาไปจนถึงระดับสูงสุด นอกจากนี้อาการของโรคยังอาจเกิดจากปัจจัยการได้รับยารักษาบางประเภท เช่น ยาในกลุ่มต้านอาการซึมเศร้าอย่าง SSRI หรือยาในกลุ่มแอนตี้โดพามิเนอร์ ยาแก้อาการเวียนศีรษะ และยากันชักบางประเภท ยาในกลุ่มระงับประสาท รวมไปถึงการรับสารคาเฟอีนสูงจนเกินไป

อาการภาวะขากระตุกขณะหลับ ที่อาจกลายเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ถ้าคุณมีอาการของภาวะขากระตุก จะมีสัญญาณเตือนสำคัญเหล่านี้ ซึ่งถ้าเกิดขึ้นกับตัวคุณ ให้รู้ไว้เลยว่าคุณอาจจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยอาการที่เห็นอย่างเด่นชัด คือ

  • เกิดการกระตุกได้ที่บริเวณขา, นิ้วเท้า และแขนทั้งสองข้างในบางครั้ง โดยจะเกิดขึ้นในช่วงกลางดึก หรือขณะหลับเท่านั้น 
  • มีการเคลื่อนไหวที่บริเวณนิ้วเท้า หัวเข่า หรือข้อเท้า แบบกระตุกแรง ๆ โดยที่คุณแทบไม่รู้ตัว 
  • เกิดการกระตุกซ้ำที่บริเวณเดิม ตั้งแต่ช่วงระยะเวลา 20-40 วินาที และอาจต่อเนื่องได้นานถึง 30 นาที 
  • การกระตุกจะเริ่มต้นจากการกระตุกเพียงเบา ๆ คล้ายกับการกระดิกนิ้ว และจะเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นจนแทบคล้ายการถูกดึงหรือกระชาก 
  • อาการจะมาทันที หลังจากคุณเริ่มอยู่ในภาวะหลับลึก หรือบางคนอยู่ในช่วงภาวะหลับตื้น ก็สามารถเกิดอาการได้เช่นกัน 
  • เมื่อเกิดอาการกระตุก จะสะดุ้งตื่นทันทีและหลังจากนั้นจะรู้สึกเหนื่อย หรือเกิดอาการไม่สบายตัว

การดูแล รักษา และป้องกันภาวะขากระตุกขณะหลับ

เริ่มต้นจากการรับวินิจฉัยโรคจากทางแพทย์โดยตรง ซึ่งคุณสามารถใช้วิธีการตรวจเลือด เพื่อตรวจดูฮีโมโกลบินภายในเม็ดเลือดของคุณ อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่ และมีปริมาณธาตุเหล็กอยู่ในระดับที่สมดุลกับร่างกายแค่ไหน พร้อมการตรวจหาความบกพร่องของเมตาบอลิซึม เพื่อดูว่าอาการขากระตุกเกิดจากโรคไต หรือโรคเบาหวานหรือไม่ ทั้งนี้จะต้องตรวจคอเลสเตอรอล ความดันเลือด ไตรกลีเซอไรด์ภายในเลือด และตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารบางประเภท

การตรวจ Polysomnogram หรือโปรแกรมการดูคุณภาพขณะหลับ แพทย์จะทำการบันทึกคลื่นสมอง อัตราการเต้นของหัวใจ ออกซิเจนภายในเลือด ความดันโลหิต การเคลื่อนไหวของดวงตาในขณะหลับ การตรวจเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการเคลื่อนไหว ทั้งแขนและขาขณะหลับ ซึ่งถือเป็นการตรวจแบบเจาะลึก เพื่อหาสาเหตุอย่างชัดเจนที่สุด

Tagที่เกี่ยวข้อง

PLMD , Periodic Limb Movement Disorder , Polysomnogram , ภาวะขากระตุก