เรื่องสำคัญควรรู้ เกี่ยวกับการพักผ่อนด้วยการนอนหลับที่ถูกต้อง
การพักผ่อนด้วยการนอนหลับ เป็นกลไกตามธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ ทั้งยังเป็นหนึ่งในกิจกรรมของนาฬิกาชีวิต ที่คนส่วนใหญ่มักมองข้าม โดยเฉพาะในวัยทำงานที่จะมุ่งมั่นต่อการสะสางงานในแต่ละวันอย่างเต็มที่ รวมไปถึงการไปปาร์ตี้พบปะสังสรรค์ผู้คนเพื่อสร้างสังคม จนกลายเป็นการกินเวลาพักผ่อนของร่างกาย ซึ่งจุดนี้เองจะทำให้กลายเป็นความเสื่อมของอวัยวะภายในที่ง่ายและรวดเร็วมาก ดังนั้นการพักผ่อนด้วยการนอนหลับอย่างสนิท จึงเป็นเรื่องที่คุณไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด
ทำความเข้าใจการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ให้ประโยชน์ได้มากกว่าที่คิด
การนอนหลับในชีวิตมนุษย์ ถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะการพักผ่อนสมองและร่างกาย จะเป็นส่วนช่วยทำให้พลังงานในทุก ๆ วันมีอย่างเต็มที่ และแสดงออกด้วยประสิทธิภาพของร่างกาย ที่ใช้งานได้สมบูรณ์แบบ แต่เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนกลับมองข้ามเรื่องการพักผ่อน ด้วยการนอนหลับอย่างสนิท โดยตารางนาฬิกาชีวิตของแต่ละคน จะมีช่วงของการนอนหลับ คือ 7-8 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นในวัยเด็ก จะอยู่ช่วง 11-13 ชั่วโมง ซึ่งการนอนหลับจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ
- ระยะการหลับตื้น จะเป็นช่วงแรกของการเริ่มนอนหลับ จะเป็นการเริ่มพักสมองในช่วง 30 วินาทีแรก ไปจนถึง 7 นาที ซึ่งช่วงระยะเวลานี้ ถ้าถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้ารอบด้านแค่เล็กน้อย จะตื่นทันทีและเป็นช่วงระยะเวลาที่ยังไม่เกิดเป็นความฝัน สล็อต
- ช่วงที่ 2 จะเป็นการเริ่มหลับลึก ซึ่งถือเป็นโหมดการหลับแบบคุณภาพ ที่ร่างกายจะเข้าสู่การพักผ่อนอย่างเต็มที่ เป็นช่วงของการหลับสนิท โดยจะใช้ระยะเวลา 30-60 นาที อุณหภูมิของร่างกายและความดันโลหิต อยู่ในจังหวะที่ลดลงตามลำดับ และอัตราการเต้นของหัวใจจะคงที่ อยู่เพียงแค่ 60 ครั้งต่อนาที พร้อมการหลั่งของโกรทฮอร์โมนที่เป็นช่วงระยะเวลาดีที่สุด
- ช่วงที่ 3 จะเป็นการหลับแล้วสามารถเกิดเป็นความฝันได้ในระยะหนึ่ง เป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มได้การพักผ่อนอย่างเต็มที่และสมองกำลังจะตื่นตัว ซึ่งถือเป็นจังหวะที่ร่างกายจะสามารถพัฒนาด้านความจำ และทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมอง ถือเป็นชั่วโมงของการนอนที่ให้คุณภาพได้ดี
ผลเสียที่ได้รับ ถ้านอนหลับไม่เต็มอิ่ม
การนอนหลับแบบมีคุณภาพ ไม่ใช่เรื่องของการนอนเต็มเวลา 7-8 ชั่วโมง แต่เป็นการนอนหลับที่เข้า 3 ระยะได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นจึงทำให้ใครหลายคนเข้าใจผิดว่าทำไมนอนเต็ม 7-8 ชั่วโมงแล้ว แต่ยังคงมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และง่วงนอนอยู่ ซึ่งถ้ายังคงเป็นอย่างต่อเนื่อง การนอนหลับไม่มีคุณภาพหรือเกิดอาการหลับและตื่นไปตลอดทั้งคืน อาจพาให้เผชิญกับผลเสีย ดังต่อไปนี้
- ระบบหลอดเลือดและระบบหายใจของร่างกาย จะทำงานหนักผิดปกติ ตื่นมาจึงรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น สมองทำงานไม่เต็มที่
- มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคเบาหวานได้ง่ายกว่าผู้ที่นอนหลับแบบมีคุณภาพ
- เมื่อเกิดอาการง่วงและอ่อนเพลียระหว่างวัน ย่อมทำให้เสี่ยงต่อปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ จากการขับรถหรือการทำงานกลางแจ้งได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
- ประสิทธิภาพของความจำ การคิด การสร้างสรรค์ และการทำงาน ที่ต้องใช้สมอง ลดลงอย่างรวดเร็ว
- ถ้ามีอาการนอนกรนร่วมกับการนอนหลับไม่สนิทตลอดทั้งคืน อาจเกิดภาวะหยุดหายใจชั่วขณะได้ง่าย
การนอนอย่างมีคุณภาพ เป็นอย่างไร?
การนอนหลับอย่างมีคุณภาพในช่วงกลางคืน คือ การเข้านอนแล้วสามารถหลับได้ 3 ระยะตามที่กล่าวไว้ข้างต้น และช่วงระยะของการหลับลึก จะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม มีความต่อเนื่องกับช่วงระยะ 3 ที่ร่างกายจะได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ทำให้สมองเริ่มตื่นตัวและเข้าสู่กระบวนการตื่นนอนอย่างสดชื่น ดังนั้นก่อนการหลับ จึงควรมีสมาธิ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่จะเข้าสู่การนอนหลับได้ดี จะต้องใช้เวลาหลายนาที โดยจะต้องไม่มีแสงจากทีวี, แสงไฟภายในห้อง หรือเสียงใด ๆ มารบกวนขณะกำลังจะเข้านอน เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้สื่อประสาทอย่างเมลาโทนิน ตัวช่วยสำคัญให้หลับลึกได้ หยุดการหลั่งและกลายเป็นการนอนไม่หลับ ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับเรื้อรัง
ที่สำคัญคือการเข้านอนและการตื่นนอน ในทุก ๆ วัน ควรเป็นเวลาเดียวกันทั้งหมด มีความสม่ำเสมอ ไม่ข้ามหรือเว้นวันเด็ดขาด โดยเฉพาะช่วงกำลังเข้านอน ไม่ควรส่องโซเชียล, อ่านข่าวที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ หรือทำงานเด็ดขาด เพราะอาจจะพาให้การนอนหลับ มีแต่ความวิตกกังวล จึงกลายเป็นการหลับไม่สนิท นอกจากนี้ไม่ควรดื่มน้ำปริมาณมากก่อนเข้านอน เพราะอาจให้ต้องสะดุ้งตื่นเข้าห้องน้ำช่วงเวลากลางดึก ซึ่งเมื่อกลับมานอนแล้ว จะไม่สามารถนอนได้อย่างต่อเนื่อง
Tagที่เกี่ยวข้อง